จังหวัดสุรินทร์ Surin
คำขวัญจังหวัดสุรินทร์
" สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม "
มารู้จักจังหวัดสุรินทร์
สุรินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา อาทิ เขมร กูย และลาว (ไทยอีสาน) มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24
ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ดังที่ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ดังนี้
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่สร้างอย่างมั่นคงในปางก่อน มีคูถึง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพงเมือง น่าจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นเมืองหน้าด่านทั้งทางตะวันออกและทางใต้ซึ่งมีช่องข้ามเขาบรรทัดต่อจังหวัดสุรินทร์อยู่หลายช่อง คือ ช่องปราสาทตาเมิน ช่องเสม็ก ช่องดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งมีทางเดินไปสู่ศรีโสภณและเมืองจงกัน ยังมีคนและเกวียนเดินอยู่ทุกช่อง แต่เป็นทางลำบาก คงสะดวกแต่ช่องตะโก ต่อมาทางตะวันตก ซึ่งกรมทางได้ไปทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว บริเวณเมืองสุรินทร์เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมตลอดปี แต่ก็ทำไร่นาได้ เป็นทุ่งใหญ่ บ้านเมืองกำลังจะเจริญขึ้น เพราะเป็นปลายทางรถไฟ มีห้องแถวคึกคักไม่หย่อนกว่าอุบล และกำลังสร้างทำอยู่อีกก็มีมาก
พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์ส่วนมากเป็นเขมร ซึ่งเป็นชาวพื้นเมือง เช่น บุรีรัมย์ นางรอง มีลาวเจือปนบ้างเป็นส่วนน้อย และชาวกูยซึ่งพูดภาษาของตนต่างหาก ส่วนเขมรซึ่งเป็นพลเมืองกลุ่มใหญ่ของเมืองสุรินทร์ยังคงพูดภาษาเขมร อยู่ทั่วไปและที่กล่าวว่าไม่รู้ภาษาไทยก็มีต้องใช้ล่ามเนือง ๆ ผู้ปกครองท้องถิ่น เห็นว่าเป็นการดิ้นรน แสร้งทำเป็นพูดไทยไม่ได้ก็มีอยู่มาก ชาวเขมรเข้ามาในแถบเมืองสุรินทร์มากในปี พ.ศ. 2324 ซึ่งทางฝ่ายเขมรต่ำเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวาย และเสียมราฐ
ในอดีตการไปมาถึงกันกับพวกเขมรต่ำในการปกครองฝรั่งเศสนั้น สอบสวนได้ความว่ายังมีอยู่เสมอแต่มีข้างฝ่ายคนเรื่องเขมรต่ำอพยพเข้ามาอยู่ทางเราเสียมากกว่า ปีหนึ่ง เข้าประมาณ 50 - 100 คน โดยมากเป็นเรื่องหนีส่วยอากรที่ทางฝ่ายโน้นเก็บแรงกว่าทางนี้
จังหวัดสุรินทร์ มีลำดับการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งทางด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งบ้านเรือนที่มีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายในอดีต มาเป็นวิถีชีวิตที่สลับซับซ้อนอย่างในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสะท้อนความเคลื่อนไหวของผู้คนที่มีมิติความสัมพันธ์ต่อกันอยู่ตลอดเวลา อันเป็นลักษณะโดดเด่นของผู้คนชาวจังหวัดสุรินทร์
ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระยาประชากรกิจกรจักรเชื่อว่า ชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานล่าง คือ สุรินทร์ นครราชสีมาหรือโคราช (เมืองโคราชเก่า บริเวณอำเภอเสิงสาง เมืองพิมาย และบริเวณใกล้เคียง มีโบราณสถานเหลืออยู่ให้เห็น 3 แห่งด้วยกัน คือ ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองแขก และปราสาทเมืองเก่า การเดินทางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ไปจนถึงกิโลเมตร ที่ 221-222 เลี้ยวขวาไปตามทางเข้าสู่อำเภอสูงเนิน 2.7 กิโลเมตร จะพบทางแยกขวามือตรงมุมวัดญาณโศภิตวนาราม (วัดป่าสูงเนิน) ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณโคราช รวมระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 32 กิโลเมตร) บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีบางส่วน กลุ่มแรกคือ กูย/กวย แล้วแต่จะเรียกตามสำเนียงของภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น
อีริค ไซเดนฟาเดน นักชาติพันธุ์วิทยาชาวเดนมาร์ก สันนิษฐานว่าพวกกูย(กวย) เคลื่อนย้ายจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศพม่า และมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 3,000 ปีเศษมาแล้ว ชาวกูย(กวย)เหล่านี้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภาคใต้ของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พวกที่อพยพเข้ามาเป็นระรอกที่ 2 และที่ 3 คือ เขมรและลาว
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนอันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ซึ่งยังมีอาศัยอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก ซึ่งปรากฏหลักฐานการสร้างปราสาทหินและอิฐดินเผาจำนวนมากมีกระจายอยู่ทั่วไปในแถบอิสานใต้ ละโว้ (ลพบุรี) ไปจนถึงในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางการเมืองทำให้กัมพูชาตกอยู่ในฐานะประเทศราชและในระหว่างปีพ.ศ. 2103 อาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091-พ.ศ. 2111) กษัตริย์ของลาวได้สร้างนครเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง
ใน พ.ศ. 2257 ลาวแตกออกเป็น 3 รัฐอิสระ คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ มีชาวกูย - ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดพร้อมด้วยนักศึกษาวัด ทั้งที่กำลังศึกษา เป็นพระภิกษุสามเณรอยู่และที่จบการศึกษาแล้วเป็นอ้ายเชียง อ้ายทิด (บันฑิต) อ้ายจารย์ (อาจารย์) กับพวกข้าทางใต้ไปบูรณะพระธาตุพนม และไปจนถึงเขมร แล้วกลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์
เมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองอัตตะปือแสนแปง (แสนแปง) ซึ่งต่างเป็นเมืองของพวกลัวะ ละว้า ขอม กูย ขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ปกครองโดยนางแพง เจ้าหญิงข่า-ลัวะ (กูย กวย ขอม) ด้วยคุณงามความดีของเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ด นางแพงจึงมอบอำนาจการปกครองเมืองจำปาศักดิ์ให้ เจ้าราชครูหลวงจึงได้อัณเชิญเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจากนครเวียงจันทน์ไปปกครองนครจำปาศักดิ์นับตั้งแต่พ.ศ. 2261-พ.ศ. 2281 เป็นต้นมา เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้ปกครองจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าราชครูแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดจึงขยายอำนาจ โดยตั้งผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ออกไปปกครองเมืองของลัวะ ละว้า ข่าต่าง ๆ ภายในเขตเมืองจำปาศักดิ์ เช่น ส่งจารย์หวดเป็นเจ้าเมืองโขงสี่พันดอน ให้ท้าวมั่นไปตั้งบ้านโพนขึ้นเป็นเมืองสาระวันแต่ชาวบ้านชอบเรียกเมืองมั่นตามชื่อท้าวมั่นและเรียกควบกับเมืองคำทองใหญ่ว่าเมืองมั่นคำทอง ให้จารย์แก้วไปตั้งบ้านทุ่ง (ท่ง) เป็นเมืองสุวรรณภูมิ (ในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน)
การแยกเป็นรัฐอิสระของอาณาจักรลาว ทำให้ทั้ง 3 รัฐ เกิดการแข็งต่อเมืองกันและต่างสะสมแสนยานุภาพไว้ต่อสู้ ป้องกันการรุกราน เมืองจำปาศักดิ์จึงบังคับให้อัตตะปือ แสนปางส่งช้างป้อนกองทัพให้แก่จำปาศักดิ์ตามที่ต้องการ ทำให้ชาวอัตตะปือแสนปางทนต่อสภาพถูกบีบบังคับไม่ได้ ส่วนหนึ่งจึงข้ามลำน้ำโขงเข้ามาอาศัยกับพวกกูย (กวย) ดั้งเดิมบริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่าง คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม และบางส่วนของนครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ
ภูมิศาสตร์, ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง
จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างลองติจูด 103 และ 105องศาตะวันออก ละติจูด 15 และ 16 องศาเหนือ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 420 กิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
ภูมิประเทศ
จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงมีลักษณะพื้นที่ดังนี้
ทางตอนใต้ของจังหวัด เป็นพื้นที่ราบสูง มีภูเขาสลับซับซ้อนหลายลูก มีป่าทึบสลับป่าเบญจพรรณตามบริเวณแนวเขตชายแดน (อำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก) ที่ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ต่อจากบริเวณภูเขาลงมาเป็นที่ราบสูง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ลาดเทมีลักษณะเป็นลูกคลื่น ค่อย ๆ ลาดเทไปทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัดทางตอนกลางของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม แต่มีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ดอน สลับที่ลุ่มลอนลาดเช่นเดียวกัน แต่ไม่มากเท่าทางตอนใต้ของจังหวัด (อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอศรีขรภูมิ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอลำดวน และอำเภอศรีณรงค์)ทางตอนเหนือของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ (อำเภอจอมพระและอำเภอสนม) และที่ราบลุ่ม (อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี และอำเภอโนนนารายณ์) โดยเฉพาะอำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม อยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ในเขตของทุ่งกุลาร้องไห้ภูเขา
จังหวัดสุรินทร์ มีเทือกเขาพนมดงรักทอดยาวตามแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา ทางด้านตอนใต้ของจังหวัด มีเขาสวายหรือพนมสวายในเขตตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว มียอดเตี้ย ๆ 3 ได้แก่ ยอดเขาชาย เป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลาราม และที่บรรจุอัฐิของเจ้าเมืองสุรินทร์และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล ปางประทานพร ภปร. ยอดเขาหญิง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ขนาดกลาง และยอดเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ ได้สร้างศาลาอัฐะมุขเพื่อเป็นอนุสรณ์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) เกจิอาจารย์ที่ชาวสุรินทร์เคารพนับถือ ปัจจุบันเขาสวายได้รับการประกาศเป็น วนอุทยานพนมสวาย
เขตการปกครอง
1. อำเภอเมืองสุรินทร์
ที่ว่าการอำเภอเมืองสุรินทร์ ถนนกรุงศรีนอก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
โทรศัพท์ : 044-511286
Fax. : 044-511286
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
2. อำเภอเขวาสินรินทร์
229 หมู่ที่ 1 ถ.นาตัง - ศีขรภูมิ ต.เขวาสินรินทร์ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ 32000
โทรศัพท์ : 0-4458-2105
Fax. : 0-4458-2106
Email : khwaosinrin@hotmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
3. อำเภอจอมพระ
ที่ว่าการอำเภอจอมพระ หมู่ที่ 6 ถนนปัทมานนท์ ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 32180
โทรศัพท์ : 0-4458-1177
Fax. : 0-4458-1177
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
4. อำเภอลำดวน
ที่ว่าการอำเภอลำดวน หมู่ที่ 3 ถนนลำดวน-บ้านไทร ตำบลลำดวน อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ 32220
โทรศัพท์ : 0-4454-1102
Fax. : 0-4454-1102
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
5. อำเภอปราสาท
ที่ว่าการอำเภอปราสาท เลขที่ 1 ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 32140
โทรศัพท์ : 0-4455-1297
Fax. : -
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
6. อำเภอศีขรภูมิ
ที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ ถนนเสรีธิปัตย์ ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 32110
โทรศัพท์ : 044561314
Fax. : 044561314
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
7. อำเภอสังขะ
ที่ว่าการอำเภอสังขะ ถนนโล่ห์สุวรรณ ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 32150
โทรศัพท์ : 0-4457-1247
Fax. : 0-4457-1247
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
8. อำเภอสนม
ที่ว่าการอำเภอสนม หมู่ที่ 2 ถนนศรีสนม ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160
โทรศัพท์ : 044-589051
Fax. : 044-589051
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
9. อำเภอท่าตูม
ที่ว่าการอำเภอท่าตูม ถนนปัทมานนท์ ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 32120
โทรศัพท์ : 0-4459-1141
Fax. : 0-4459-1141
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
10. อำเภอสำโรงทาบ
ที่ว่าการอำเภอสำโรงทาบ หมู่ที่ 1 ถนนบำรุงพัฒนา ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 32170
โทรศัพท์ : 0-4456-9121
Fax. : 0-4456-9121
Email : samrongthap2502@hotmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
11. อำเภอกาบเชิง
ที่ว่าการอำเภอกาบเชิง หมู่ที่ 17 ต.กาบเชิง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ 32210
โทรศัพท์ : 0-4455-9101, 0-4455-9303
Fax. : 0-4455-9101
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
12. อำเภอศรีณรงค์
ที่ว่าการอำเภอศรีณรงค์ หมู่ที่ 2 ตำบลณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ 32150
โทรศัพท์ : 0-4450-9056
Fax. : -
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
13. อำเภอรัตนบุรี
ที่ว่าการอำเภอรัตนบุรี ถนนศรีนคร ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32130
โทรศัพท์ : 0-4459-9220
Fax. : 0-4459-9220 ต่อ 04
Email : prasrinakorntao@gmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
14. อำเภอบัวเชด
ที่ว่าการอำเภอบัวเชด หมู่ที่ 4 ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 32230
โทรศัพท์ : 0-4457-9056
Fax. : 0-4457-9056
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
15. อำเภอโนนนารายณ์
ที่ว่าการอำเภอโนนนารายณ์ เลขที่ 88 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองหลวง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ 32130
โทรศัพท์ : 0-4414-4508
Fax. : 0-4414-4508
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
16. อำเภอพนมดงรัก
ที่ว่าการอำเภอพนมดงรัก หมู่ที่ 18 ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ 32140
โทรศัพท์ : 0-4450-8005
Fax. : 0-4450-8005
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
17. อำเภอชุมพลบุรี
ที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรี ถนนท่าตูม-ชุมพลบุรี ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32190
โทรศัพท์ : 0-4459-6088
Fax. : 0-4459-6088
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567